ถ้าใครเคยไปโตเกียวน่าจะเคยได้ไปแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม ศาลเจ้าเมจิ หรือ Meiji Jingu แถวโยโยงิ (Yoyogi) รู้หรือไม่ว่าทางเดินเข้าไปนั้น คือ ป่าปลูกในโครงการระยะยาว 150 ปี บนพื้นที่กว่า 700,000 ตร.ม. ที่ผู้คนร่วมด้วยช่วยกันบริจาคต้นไม้ จากทั่วทุกสารทิศของญี่ปุ่น และอาสาสมัครกว่าหนึ่งแสนคนมาร่วมกันปลูกป่า!! . หลังจากที่จักรพรรดิเมจิที่สวรรคตในปีค.ศ. 1912 ชาวโตเกียวจึงขอให้รัฐบาลสร้างศาลเจ้า(แทนที่จะเป็นหลุมฝังศพ) เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของจักรพรรดิผู้เป็นที่รัก . ป่าศักดิ์สิทธิ์รอบศาลเจ้านี้อยู่ในประเพณี และความเชื่อของชาวญี่ปุ่นมายาวนาน โดยเชื่อว่าเทพเจ้าลงมาจากยอดไม้เพื่อมาสู่ผืนดิน โดยจะมาอาศัยอยู่ในต้นไม้ ก้อนหิน แม่น้ำ และวัตถุต่างๆในธรรมชาติ ศาลเจ้าจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงความเคารพ และเลื่อมใสในเทพเจ้าเหล่านั้น . ในปีค.ศ. 1915 โปรเจค Shine Forest หรือ ป่าแห่งศาลเจ้า จึงได้เกิดขึ้นในละแวกโยโยงิ กลางเมืองโตเกียวด้วยความร่วมมือ ของผู้เชี่ยวชาญด้านป่าไม้ และภูมิสถาปนิก โดยมี ดร.เซอิโรคุ ฮอนดะ, ดร.ทาคาโนริ ฮองโกะ, และดร.เคอิจิ อูเอะฮาระ (ที่สมัยนั้นยังเป็นนักศึกษา) เป็นทีมแพลนเนอร์หลัก . หน้าที่สำคัญของป่าแห่งนี้ก็คือเพื่อปกป้องศาลเจ้าเมจิ จากฝุ่นละอองที่ลมอาจจะพัดมาจากค่ายฝึกซ้อมทหาร (ในสมัยนั้น) และควันมลพิษจากรถไฟสายยามาโนเตะที่เพิ่งเปิดทำการ . แม้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลจะเสนอ ให้ปลูกสนซีดาร์ และสนฮิโนกิ เป็นพันธุ์ไม้หลัก แต่มติของทีมงานได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่า “พันธุ์ไม้หลักที่จะปลูกจะต้องสอดคล้องกับสภาพอากาศและดิน ทนทานต่อมลพิษ เติบโตได้ด้วยตัวเองตามธรรมชาติไม่ต้องดูแลเยอะ ดูเป็นธรรมชาติเหมาะสมกับศาลของเทพเจ้า" พวกเขาได้เลือกพันธุ์ไม้ต่างๆกว่า 80 พันธุ์ โดยพยายามละเว้นไม้ที่มีผล มีดอกสีสันจัดจ้าน หรือต้นไม้ที่ต้องการการดูแลเยอะ และต้นไม้ต่างถิ่น และเริ่มเปิดรับบริจาคต้นไม้ในปี 1916 . ในที่สุดต้นไม้กว่า 95,559 ต้น รวมได้ 365 สายพันธุ์ (ภายหลังเหลือ 270 สายพันธุ์) ก็ถูกส่งมาจากทั่วทุกสารทิศในญี่ปุ่น และยังมีสนแดงที่เคยเป็นทรัพย์สินหลวงอยู่รวมด้วย . เมื่อจำเป็นต้องสร้างป่าในทันทีเพื่อสร้างบรรยากาศ ที่เหมาะสมกับศาลเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ นักวางแผนทั้งสามจึงแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน ตามการใช้งานและสภาพบริบทของพื้นที่ วาดภาพว่าทุกๆ 50 ปีฟอร์มและสภาพของต้นไม้ จะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ โดยในอีก 150 ปีบริเวณนั้นจะกลายเป็นป่าเขียว เต็มไปด้วยต้นไม้ใบกว้างที่เขียวตลอดปี อย่างโอ๊ค ชินกัวพิน (chinquapin-เป็นไม้พรรณ ที่ใช้ปลูกในสวน และเป็นต้นไม้ที่ใช้ ป้องกันลมได้เป็นอย่างดี และประโยชน์อีกทางคือ มักจะนำไปผลิตเป็นวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์เครื่องมือที่ทำจากไม้ เฟอร์นิเจอร์ และ เครื่องใช้) และการบูร . ในช่วงแรกคาดการณ์ว่าต้นไม้สูงพื้นถิ่น อย่างสนแดงและสนดำจะเป็นไม้หลัก ปลูกเสริมด้วยไม้สนฮิโนกิ, สนซาวาระ, สนสึกิ, ต้นสนเฟอร์เป็นไม้ชั้นที่สูงรองลงมาเป็นลำดับสอง และตามด้วยโอ๊ค ชินกัวพิน และการบูร เป็นไม้ชั้นที่สูงชั้นที่สาม รองลงมาอีกตามลำดับ . โดยคาดเดาว่าต้นสนแดงและดำ จะแห้งเหี่ยวไปในอีก 50 ปีข้างหน้า และในช่วงที่2ไม้สนฮิโนกิ , สนซาวาระจะสูงแทนที่ และนี่จะทำให้มีแสงพอให้ต้นไม้ใบกว้างที่เขียวตลอดปี อย่างโอ๊ค ชินกัวพิน การบูร เติบโตได้ดี . ในอีกประมาณ 100 ปีถัดมาหรือช่วงที่ 3 (ซึ่งก็คือช่วงปัจจุบันนี้) คาดว่าต้นไม้ใบกว้างที่เขียวตลอดปีอย่างโอ๊ค ชินกัวพิน และการบูรจะเติบโตเบ่งบาน ต้นสนฮิโนกิสนซาวาระ, สนสึกิ, ต้นสนเฟอร์, zelkova (ตระกูลเอล์ม), ต้นมุกุ Aphananthe aspera (ตระกูลเอล์ม) และเกาลัคจะเกิดขึ้นโดยทั่วไปในป่าที่เขียวตลอดปีแห่งนี้ . และอีก 50 ปีถัดมาคาดว่าต้นไม้จำพวกสนจะหายไป และป่าจะเต็มไปด้วยโอ๊ค,ชินกัวพิน และ การบูร เป็นไม้หลักพร้อมกับต้นไม้รุ่นใหม่ๆที่จะเติบโต จากเมล็ดรุ่นก่อนที่ร่วงหล่นลงมา . ในที่สุดต้นไม้สามสายพันธุ์หลัก จะทำให้ป่าเติบโตอย่างมั่นคงในช่วงที่ 4 และป่าจะก็ไม่ต้องการการดูแลอีกต่อไป เพราะมันจะสามารถเติบโตต่อเนื่องได้เองอย่างเป็นธรรมชาติ . หลังจากป่าศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ได้ถูกปลูก ขึ้นกฎสามข้อที่ตั้งขึ้นได้รับการรักษาอย่างเคร่งครัด คือ 1) ห้ามเด็ดดึงใบไม้ หรือกิ่งไม้ทุกชนิด ฯลฯ 2) ห้ามเข้าไปเดินเล่นในป่า 3)ห้ามนำสิ่งใดๆออกจากป่าแห่งนี้เป็นอันขาด แม้กระทั่งผู้จัดการป่าแห่งนี้ก็ห้ามเก็บผลของต้นไม้ หรือห้ามนำแม้กระทั่งใบไม้แห้งออกจากป่าแห่งนี้แม้แต่ใบเดียว . #urbanforest #meijishrine #150yearforestproject
ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.japanfs.org/en/news/archives/news_id027807.html และ google earth ภาพโดย: Illustration from photo taken in year 2017 by N.K.Gloel
Comentarios